โครงการอบรมและสัมมนาเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านกฎหมาย เรื่อง “ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่และการบังคับทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539” ระหว่างวันที่ 15 – 16 ธันวาคม 2565

กองกฎหมาย สำนักงานอธิการบดี ได้มอบหมายนางสาวกมลวรรณ เกตุเวช นิติกรปฏิบัติการ รักษาการในตำแหน่งหัวหน้างานวินัย เข้าร่วมโครงการอบรมและสัมมนาเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านกฎหมาย เรื่อง “ความรับผิดทางละเมิดของ
เจ้าหน้าที่และการบังคับทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539″ ณ โรงแรมเซ็นทารา ริเวอร์ไซต์ เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 15 – 16 ธันวาคม 2565 ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้และกลุ่มนิติกรประจำมหาวิทยาลัย
และสถาบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่และการบังคับทางปกครองซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏฺบัติงานของหน่วยงานและผู้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายทั้งในเชิงป้องกันและแก้ไขปัญหาที่อาจจะนำไปสู่กรณีพิพาททางปกครอง รวมทั้งเพื่อให้นิติกร ผู้ปฏิบัติงานด้านกฎหมาย และผู้เข้าร่วมโครงการสร้างนำความรู้ที่ได้จากอบรมมา
บูรณาการและเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

โดยในการบรรยายความรู้ในโครงการดังกล่าว ได้รับเกียรติจากวิทยาการ 3 ท่าน ได้แก่  นางสาวบุญยาพร อุนาภาค ผู้เชี่ยวชาญด้านละเมิดและแพ่ง กองละเมิดและแพ่ง กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง มาบรรยายในหัวข้อ “ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่”
ในวันที่ 15 ธันวาคม 2565 ร่วมกับนายสมรรถชัย วิศาลาภรณ์ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ดำรงตำแหน่งประธานแผนกคดีบริหารงานบุคคลในศาลปกครองสูงสุด ที่มาให้ความรู้ในหัวข้อ “การบังคับทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
พ.ศ. 2539″ ซึ่งในโครงการดังกล่าว มีนิติกรจากสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันต่าง ๆ ให้ความสนใจและเข้าร่วมกว่า 200 คน และในการอบรมวันที่ 16 ธันวาคม 2565 ผู้จัดงานได้จัดให้มีการอบรมแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างหน่วยงาน โดยมีนายคณพศ เฟื้องฟุ้ง
ที่ปรึกษากองกฎหมาย มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากรให้ความรู้และนำที่มในการแลกเปลี่ยนความรู้หัวข้อ “การสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่”

สำหรับหัวข้อการบรรยายในเรื่อง “ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่” ผู้แทนของมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการอบรมได้สรุปสาระสำคัญที่อาจเกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เนื่องจากหลายครั้งพบว่าการปฏิบัติงานบางครั้งที่ก่อให้เกิดความเสียหายของมหาวิทยาลัย ไม่ได้เกิดจากความจงใจของผู้กระทำละเมิด แต่อาจเกิดจากความไม่ตั้งใจ
หรือความไม่ระมัดระวังที่มากเพียงพอ ซึ่งการกระทำที่ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้น ในบางครั้งอาจทำให้เจ้าหน้าที่ต้องรับผิด
ในความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ ดังนั้น เพื่อให้บุคลากรได้ทราบถึงหลักการเบื้องต้นเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง บุคลากรที่สนใจสามารถเปิดอ่านบทความดังกล่าวได้จาก Link เอกสารด้านล่างนี้ โดยกองกฎหมายคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความดังกล่าวจะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย

Leave a Reply