คณะกรรมการดำเนินงานโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน

ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

(Committee of Integrity and Transpancy Assessment of Sukhothaithammathirat Open University 2023)

รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ แผน นวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัล

รองศาสตราจารย์ ดร.เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์

ประธานกรรมการ

รองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคล วิจัย และบริหารทั่วไป

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนมพัทธ์ สมิตานนท์

กรรมการ

สาขาวิชาศึกษาศาสตร์

รองศาสตราจารย์ ดร.วัลภา สบายยิ่ง

กรรมการ

ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและวัดผล

อ.จอ. ชูศักดิ์ ศิริรุ่งพันธ์

กรรมการ

ผู้อำนวยการสำนักบัณฑิตศึกษา

ผศ. ดร.ศรชัย สินสุวรรณ

กรรมการ

ผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์

อ. ดร.ศรันย์ นาคถนอม

กรรมการ

ผู้อำนวยการกองทรัพยากรบุคคล

นายวิรัตน์ นิติพิทักษ์ชน

กรรมการ

ผู้อำนวยการกองแผนงาน

นางสาวภทรวรรณ อักษร

กรรมการ

ผู้อำนวยการกองกลาง

นายอภิวันท์ เจริญลาภ

กรรมการ

ผู้อำนวยการกองพัสดุ

นายสุวรรณชัย นาคเสน่ห์

กรรมการ

ผู้อำนวยการสถานสื่อสารองค์กร

ผศ.วิทูรย์ วงษ์อามาตย์

กรรมการ

ผู้อำนวยการกองกฎหมาย

นายณรงค์ ศรไพบูลย์

กรรมการ

ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานฯ

ผศ.ดร.จำเนียร ราชแพทยาคม

กรรมการและเลขานุการ

นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ

นางสาวศศิกานต์ เกิดแสงสุริยงค์

ผู้ช่วยเลขานุการ

นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ

นางสาววิไลลักษณ์ ดีถนัด

ผู้ช่วยเลขานุการ

นิติกรชำนาญการ

นายนราศักดิ์ จงคูณกลาง

ผู้ช่วยเลขานุการ

นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวกมลวรรณ เกตุเวช

ผู้ช่วยเลขานุการ

การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ พ.ศ. 2566

การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ พ.ศ. 2565

การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ พ.ศ. 2564

ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปี 2559 - 2565

ระบบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

ความเป็นมา

              ภายหลังการปฏิรูประบบราชการไทยเมื่อปี พ.ศ. 2545 และการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 หน่วยงานภาครัฐได้มีการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัยและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนอย่างต่อเนื่อง มีการนำแนวคิดวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) มาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน อย่างไรก็ตามตลอดช่วงเวลากว่า 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ยังคงมีข่าวการดำเนินงานที่ขาดความโปร่งใสและการร้องเรียนเรื่องทุจริตในการรับบริการของหน่วยงานภาครัฐจากภาคประชาชนอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ การที่ประเทศไทยถูกจัดอันดับภาพลักษณ์การทุจริต (Corruption Perception Index: CPI) โดยองค์การเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ซึ่งที่ผ่านมามีค่าคะแนนค่อนข้างต่ำมา โดยตลอด ล่าสุดประเทศไทยมีค่าคะแนนภาพลักษณ์การทุจริต ประจำปี 2557 อยู่ที่ 38 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 85 จากประเทศที่เข้าร่วมประเมินทั้งหมด 175 ประเทศทั่วโลก
              สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ตระหนักถึงผลกระทบจากปัญหาการทุจริตภายในประเทศ ทั้งในแง่จำนวนคดีการทุจริตและในแง่ทัศนคติการรับรู้ ของประชาชน ตลอดจนนักธุรกิจ นักลงทุนต่างประเทศ ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2552 สำนักงาน ป.ป.ช. จึงได้เริ่มศึกษากรอบแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและเครื่องมือการวัดระดับความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ โดยใน ปี พ.ศ. 2553 ได้เริ่มทดสอบใช้เครื่องมือการประเมินความโปร่งใสกับหน่วยงานภาครัฐ 8 หน่วยงาน ผลการทดลองใช้เครื่องมือดังกล่าว นำมาสู่การพัฒนา
กรอบแนวคิดในการประเมินผลความโปร่งใสที่สามารถ ใช้เป็นเครื่องมือทางการบริหารในการขับเคลื่อนหน่วยงานภาครัฐให้มีการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล และกระบวนการเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Management) ที่มีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น รวมถึงให้ทราบถึงระดับความโปร่งใสในการดำเนินงานตามภารกิจหลักของหน่วยงานโดยเรียกเครื่องมือนี้ว่า “ดัชนีวัดความโปร่งใสในการ
ดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Transparency Index of the Public Agencies)” ซึ่งเป็นการประเมินหน่วยงานภาครัฐระดับกรมหรือเทียบเท่าจากเอกสารหลักฐานการดำเนินงานเชิงประจักษ์ (Evidence – based) ที่อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงมาใช้ในการประเมินระดับความโปร่งใสและการดำเนินงานตาม หลักธรรมาภิบาลและกระบวนการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้ทำการประเมินหน่วยงานภาครัฐนำร่อง 45 หน่วยงาน มีค่าคะแนนความโปร่งใสเฉลี่ย 65.99 คะแนน จากนั้น ในปี พ.ศ. 2555 ได้ ดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาดัชนีวัดความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐอีกครั้ง โดยในครั้งนี้มีหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมการประเมิน จำนวน 110 หน่วยงาน มีค่าคะแนนความโปร่งใส เฉลี่ย 61.67 คะแนน

หลักการและเหตุผล

              ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมเกี่ยวกับหน่วยงานภาครัฐที่มีการดำเนินงานที่ไม่โปร่งใส มีการบริหารงานอย่างไม่มีคุณธรรมและจริยธรรม รวมไปถึงการทุจริตและประพฤติมิชอบเกิดขึ้นอย่างมากมาย ก่อให้เกิดผลกระทบและความเสียหายต่อประเทศอย่างมหาศาล สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ได้ตระหนักถึงปัญหาและผล
กระทบดังกล่าว จึงได้มีแนวคิดในการพัฒนาเครื่องมือที่จะบ่งชี้ระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐขึ้น และต่อมา ได้พัฒนาเป็นระบบการประเมินคุณธรรม
และความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ในปี พ.ศ. 2556 การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment
: ITA) เป็นเครื่องมือที่มีเนื้อหาการสำรวจเกี่ยวกับการดำเนินงานที่มีคุณธรรมและความโปร่งใส การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามจรรยาบรรณ การบริหารงานอย่างมีจริยธรรม ตลอดจนการจ่ายหรือเรียกรับสินบนจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยสำรวจทั้งในมิติการรับรู้ (Perception – Based) คือ สำรวจความคิดเห็นของผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับหน่วยงานภาครัฐ (External Stakeholders) และเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานภาครัฐ (Internal Stakeholders) และในมิติหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence – Based) คือ สำรวจจากหลักฐานการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
              1. เพื่อประเมินผลระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
              2. เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐได้รับทราบแนวทางในการปรับปรุงหรือพัฒนาในเรื่องคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
              การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐได้ถูกกำหนดเป็นมาตรการเสริมเชิงบวกด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2556 – 2560) คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการประชุมครั้งที่ 500 – 65/2556 เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2556 จึงได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้นำระบบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ไปปฏิบัติในปี พ.ศ. 2557 และ พ.ศ. 2558 – 2560 เพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินผลการป้องกันการทุจริต
และยกระดับคุณธรรมและ ความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐให้สูงขึ้น ในปี พ.ศ. 2557 สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ดำเนินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐเป็นการนำร่อง ในลักษณะขอความร่วมมือหน่วยงาน ให้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย องค์กรอิสระ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ องค์กรศาล (เฉพาะสำนักงาน) สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ส่วนราชการส่วนกลางระดับกระทรวงและสังกัดภายใต้กระทรวง ส่วนราชการระดับจังหวัด รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร และองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ จำนวน 259 หน่วยงาน ซึ่งหน่วยงานภาครัฐต่างให้ความร่วมมือ เป็นอย่างดี และผลการประเมินพบว่าหน่วยงานภาครัฐมีคะแนนเฉลี่ย 72.84 คะแนน ซึ่งถือว่ามีระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในระดับสูง
              ต่อมาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐแปลงแนวทางและมาตรการตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2556 – 2560) ไปสู่การปฏิบัติ โดยให้กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี โดยมีสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนการขับเคลื่อนเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐมีการนำยุทธศาสตร์ชาติฯ ไปขับเคลื่อนอย่างจริงจัง ในปี พ.ศ. 2558 สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ดำเนินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก และได้ขยายขอบเขตหน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมโครงการไปทั่วประเทศ ประกอบด้วย องค์กรอิสระ องค์กร ตามรัฐธรรมนูญ องค์กรศาล (เฉพาะสำนักงาน) สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ส่วนราชการส่วนกลางระดับกระทรวงและสังกัดภายใต้กระทรวง
ส่วนราชการระดับจังหวัด รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล และองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ รวมจำนวน 8,197 หน่วยงาน โดยมีหน่วยงานที่ร่วมรับผิดชอบการประเมิน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) และ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นอกจากนี้ ผลคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐยังได้นำไปเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) อีกด้วย ซึ่งปัจจุบันโครงการอยู่ในระหว่างการประมวลผลคะแนนในขั้นสุดท้าย
              ปัจจุบัน รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของระบบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2559 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานเข้าร่วมรับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 – 2560 ตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. เสนอ

กรอบแนวคิดของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

              หลักทฤษฎีของระบบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ เป็นการประเมินในลักษณะการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ โดยมีแบบแผน การวิจัย (Research Design) เป็นแบบการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Methods Research) ซึ่งเป็นรูปแบบการวิจัยที่ผนวกเทคนิค กระบวนการ หรือขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของเทคนิควิธีเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) และเทคนิควิธีเชิงปริมาณ (Quantitative Method) เข้าด้วยกัน โดยทั้งสองเทคนิควิธีจะดำเนินไปพร้อมๆ กัน จนกระทั่งวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันและสรุปผลการวิจัย ดังนี้

ขอบเขตการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

              1. ขอบเขตด้านเนื้อหา
                  เนื้อหาในการประเมินต้องมีความตรง (Validity) และครอบคลุมในคุณลักษณะเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล รวมไปถึงความโปร่งใสที่หน่วยงานภาครัฐพึงจะปฏิบัติ ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตตามที่ระเบียบหรือกฎหมายกำหนด และต้องมีลักษณะไม่เฉพาะเจาะจงจนเกินไป เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐทุกรูปแบบสามารถเข้ารับการประเมินได้ สำนักงาน ป.ป.ช. ได้กำหนดเนื้อหาของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ โดยมีเนื้อหาของการประเมิน ประกอบด้วย 5 ดัชนี ดังนี้
                  (1) ดัชนีความโปร่งใส (Transparency Index)
                  (2) ดัชนีความพร้อมรับผิด (Accountability Index)
                  (3) ดัชนีความปลอดจากการทุจริตในการปฏิบัติงาน (Corruption – Free Index)
                  (4) ดัชนีวัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กร (Integrity Culture Index)
                  (5) ดัชนีคุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน (Work Integrity Index)
              2.กลุ่มเป้าหมาย
              การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ใช้วิธีวิจัยที่สำคัญ 2 วิธี คือ
                  (1) การวิจัยจากเอกสาร (Document Research) โดยจัดเก็บข้อมูลจากเอกสารหรือหลักฐาน ตามแบบสำรวจใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ Evidence – Based Integrity & Transparency Assessment โดยให้หน่วยงานที่เข้ารับการประเมินตอบคำถามเกี่ยวกับคุณลักษณะ ระบบ หรือขั้นตอนที่หน่วยงานดำเนินการจริงและมีหลักฐานประกอบที่มีคุณลักษณะที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล คุณธรรม จริยธรรมและความโปร่งใสสำหรับหน่วยงานภาครัฐ
                  (2) การวิจัยจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง (Sample Survey‎ Research) โดยจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับข้อคิดเห็น การรับรู้ และประสบการณ์จากกลุ่มตัวอย่างที่ตอบคำถามตามแบบสำรวจความคิดเห็น External Integrity & Transparency Assessment และแบบสำรวจความคิดเห็น Internal Integrity & Transparency Assessment เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน กระบวนการ และพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานภาครัฐ เรื่องความโปร่งใส ความพร้อมรับผิด ความปลอดจากการทุจริตในการปฏิบัติงาน วัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กร และคุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน โดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่างให้สอดคล้องและเหมาะสม