International Anti-Corruption Day 2019

วันต่อต้านคอร์รัปชั่นสากล ประเทศไทย : เดินหน้า “ล่าโกง”
International Anti-Corruption Day 2019

                ด้วย วันที่ 9 ธันวาคม ของทุกปี ตรงกับวันต่อต้านคอร์รัปชั่นสากล (ประเทศไทย) สืบเนื่องจากการประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติ มีมติเห็นชอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ.2003 (UNCAC) และประเทศภาคีสมาชิกสหประชาชาติ จำนวน 183 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ได้เข้าร่วมลงนามในอนุสัญญาดังดล่าว เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2546 ณ ประเทศเม็กซิโก จึงได้ประกาศให้วันที่ 9 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันต่อต้านคอร์รัปชั่นสากล (International Anti-Corruption Day) และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาดังกล่าวเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2554 ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยมีฐานะเป็นรัฐภาคีอนุสัญญา UNCAC โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2554 
                ประเทศไทย ในฐานะหนึ่งในประเทศภาคีสมาชิกสหประชาชาติ นำโดยรัฐบาล ร่วมกับสำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน ป.ป.ท. องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) ภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ร่วมกันขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตผ่านกลไกทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่องตลอดมา รวมทั้งร่วมมือกันจัดงานวันต่อต้านคอร์รัปชั่นสากล (ประเทศไทย) ขึ้น
                โดยในปีนี้นายยูรี เฟโดตอฟ (Mr.Yury Fedotov) กรรมการบริหารสำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime Executive Director) ได้เขียนถ้อยคำแถลงสำหรับงานวันต่อต้านคอร์รัปชั่นสากล (ประเทศไทย) ประจำปี พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2562 ณ อิมแพ็คเอ็กซิบิชั่น ฮอลล์ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัด นนทบุรี ซึ่งอ่านโดยนายฌูเลียน การ์ซานี (Mr..Julien Garsany) ผู้แทน UNODC ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก ดังนี้
                “การทุจริตส่งผลการะทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันของทุกคน โดยเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงทรัพยากรและโอกาสต่างๆ ทำลายความเชื่อมั่นต่อองค์กรภาครัฐ อีกทั้งยังเป็นภัยต่อสัญญาประชาคม ดังนั้น การทุจริตจึงขัดขวางความพยายามของพวกเราในการสร้่างโลกให้ดียิ่งขึ้น ขณะที่พวกเราก้าวเข้าสู่ศตวรรษแห่งความมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยื่น (Sustainable Development Goals : SDGs) ตามที่ได้กำหนดไว้ เราจึงต้องเพิ่มความพยายามในการขจัดการทุจริตและส่งเสริมธรรมาภิบาลซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ หากเราต้องการสานต่อคำปฏิญาณสากลที่เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ในการที่จะเอาชนะปัญหาการทุจริตนั้น จะต้องสร้างภาวะที่จำเป็นเพื่อจัดการกับความยากจนและความไม่เท่าเทียมกันอย่างมีประสิทธิผล
                 ความก้าวหน้าที่โดดเด่นในระยะเวลา 15 ปี ที่ผ่านมา ได้แก่ การกำหนดให้การทุจริตเป็นอาชญากรรม และการติดตามทรัพย์สินที่ได้จากการทุจริตกลับคืนมา อันเป็นผลสืบเนื่องจากการอนุวัติตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (United Nations Conventions against Corruption : UNCAC) ที่มีความเป็นสากล ถึงตอนนี้เป็นเวลา 10 ปีแล้วที่การอนุวัติการตามอนุสัญญานี้ ได้รับประโยชน์จากกลไกการประเมินระหว่างกัน (Peer Review) ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นให้แต่ละประเทศไปดำเนินการด้านนิติบัญญัติ เสริมสร้างความเข้มแข้งของสถาบันต่างๆ ในแต่ละประเทศ ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ 
(United Nations Office on Drugs and Crime : UNODC) ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ประชาคมโลกในการแปลอนุสัญญาไปสู่การลงมือปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผลและขับเคลื่อนการต่อต้านการทุจริตให้เป็นวาระระดับโลก ส่วนที่สำคัญคือการสนับสนุนการเตรียมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตที่จะจัดขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2564 นี้
                ในการสร้างแรงผลักดันต่อโอกาสครั้งสำคัญนี้ เราจำเป็นต้องรับฟังเสียงของคนรุ่นใหม่ที่กำลังเรียกร้องความโปร่งใสและสร้างความเปลี่ยนแปลงโดยการลงปฏิบัติในชุมชนของพวกเขา ซึ่งเราต้องดึงเอาขีดความสามารถของนวัตกรรมเพื่อต่อสู้กับการทุจริตอย่างเต็มที่ ใช้เทคโนโลยีเพื่อการตรวจสอบและรายงานผล รวมถึงสร้างความตระหนักรู้และตอบโต้ผู้นำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ในการก่ออาชญากรรม เราไม่สามารถปล่อยให้การทุจริตมาคุกคามอนาคตของเราได้ เราต้องยืนหยัดร่วมกันต่อต้านการทุจริต เราจะยืนหยัดเพื่อความยุติธรรม ปกป้องหลักนิติธรรม และสร้างโอกาสที่มากขึ้น เพื่อให้ทุกๆ คน สามารถเข้าถึงความเจริญรุ่งเรืองในสังคมของเรา
                ในการนี้ กองกฎหมาย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นำโ
ดยนายพรศักดิ์ จันทร์ศรีนาค ผู้อำนวยการกองกฎหมาย ร่วมกับนายนราศักดิ์ จงคูณกลาง รักษาการในตำแหน่งหัวหน้างานพัฒนาคุณภาพกฎหมาย นายแสนศักดิ์ดา สุนันต์ รักษาการในตำแหน่งหัวหน้างานอุทธรณ์ ร้องทุกข์ และจรรยาบรรณ นางสาวกมลวรรณ เกตุเวช นิติกรปฏิบัติการ รักษาการในตำแหน่งหัวหน้างานบริหารทั่วไป และนางสาวกุลธิดา กะถาไชย เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ได้เข้าร่วมในกิจกรรมดังกล่าว และได้แถลงคำสัตย์ปฏิญาณในการต่อต้านการทุจริตครั้งนี้ด้วย 

ถ่ายภาพโดย : นางสาวกมลวรรณ เกตุเวช

Leave a Reply